หน้าแรก >บทความ
<div><div>
<figure class="wp-block-image size-large"><img src="https://pjyjntwzszymfzyqkfvu.supabase.co/storage/v1/object/public/content/2021/9/edb2fd9d-2ae7-499b-a3d9-103fbc05a707.png" alt="" class="wp-image-76691" /></figure>
<p>การนอนหลับให้เพียงพอ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในขณะที่เราหลับ โดยระยะเวลาในการนอนหลับที่เหมาะสมนั้น แตกต่างกันตามอายุ และสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งการอดนอน นอกจากส่งผลให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงแล้ว ยังมีผลต่อระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายอีกด้วย วันนี้แอดมินจึงอยากมาบอกถึงข้อเสียที่ต้องพึงระวัง! จากการอดหลับอดนอน ว่าจะมีโทษอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ</p>
<p></p>
<figure class="wp-block-image size-full"><img src="https://pjyjntwzszymfzyqkfvu.supabase.co/storage/v1/object/public/content/2021/9/0931c1d4-283a-42cd-b781-f2ec4657a3b8.png" alt="" class="wp-image-76692" /></figure>
<h4 id="h-"><strong>ร่างกายอ่อนเพลีย</strong><strong></strong></h4>
<p>มีผู้กล่าวว่า ถ้าร่างกายมีพลังงานอยู่เท่ากับ 100% จะหมุนเวียนพลังงานใช้จริงอยู่เพียง 70% ที่เหลืออีก 30% จะเป็นพลังงานสำรองของชีวิต เอาไว้ใช้ในยามป่วยไข้ไม่สบาย หรือใช้ในภาวะฉุกเฉินต่างๆ รวมถึงภาวะอดนอนนี้ด้วย จึงพบว่าถ้าอดนอนสั้นๆ จะไม่เป็นอะไรมาก แต่ถ้านานไปพลังงานที่เหลือ 30% นี้ก็จะค่อยๆ หมดลง และจะมีอาการไม่สบายเกิดขึ้นอย่างชัดเจน</p>
<p></p>
<figure class="wp-block-image size-full"><img src="https://pjyjntwzszymfzyqkfvu.supabase.co/storage/v1/object/public/content/2021/9/97734763-0ccf-45a2-b0e2-69cd706184c7.png" alt="" class="wp-image-76693" /></figure>
<h4><strong>กินจุกจิก</strong><strong></strong></h4>
<p>เนื่องจากเกิดความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดมีไม่เพียงพอ ส่งผลให้ต้องกินจุกจิกมากยิ่งขึ้น อาการจะคล้ายกับผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบที่ 2 (Diabetes type 2) การที่เราตื่นอยู่นานแบบอดนอน ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้น จึงรู้สึกอยากกินอาหารมากยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน</p>
<p></p>
<figure class="wp-block-image size-full"><img src="https://pjyjntwzszymfzyqkfvu.supabase.co/storage/v1/object/public/content/2021/9/0dff901d-ac27-428c-bc7c-d9e6b16a44a8.png" alt="" class="wp-image-76695" /></figure>
<h4><strong>ร่างกายไม่เจริญเติบโต</strong><strong> </strong></h4>
<p>โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กที่กำลังโต เนื่องจากฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโตถูกสร้างน้อยลง รวมไปถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกรบกวน ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย หรืออาจรุนแรง เป็นอันตรายถึงชีวิตจากการอดนอนได้</p>
<p></p>
<figure class="wp-block-image size-full"><img src="https://pjyjntwzszymfzyqkfvu.supabase.co/storage/v1/object/public/content/2021/9/c81520d8-7b77-4981-bd4a-c479a22da02f.png" alt="" class="wp-image-76696" /></figure>
<h4><strong>ส่งผลต่อการทำงานของสมอง</strong><strong> </strong></h4>
<p>ทำให้กระบวนการเรียนรู้ช้าลง การอดนอนจะมีผลต่อการทำงานของสมองในส่วนต่างๆ ให้ทำงานผิดไป อีกทั้งยังทำให้เกิดอาการงีบหลับสั้นๆ ที่เราเรียกกันว่า “หลับกลางอากาศ” หรือ “หลับใน” ซึ่งสมองจะหยุดทำงานช่วงสั้นๆ แบบชั่วคราว อาจเป็นวินาที ครึ่งนาที ทำให้ไม่ตื่นตัว ไม่ตอบสนองต่อการรับรู้ใดๆ ซึ่งเป็นอันตรายมากถ้าเกิดขึ้นระหว่างที่กำลังขับรถ หรือระหว่างการทำงานที่ต้องใช้ความเร็ว และความแม่นยำ</p>
<p></p>
<p>แนวทางการรักษาเรื่องอดนอนที่ได้ผลดีที่สุด คือ การนอนหลับให้พอเพียง เมื่ออดนอนมาแล้ว ก็ควรหาเวลานอนชดใช้ให้มากพอ ภาวะอดนอนก็จะดีขึ้นได้เองโดยที่ไม่ต้องไปหาการรักษาที่ยุ่งยากอื่นๆ แต่ทางที่ดีควรลองปรับเวลาการใช้ชีวิตสักนิด เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดี และแอดมินเชื่อว่าทุกคนต้องทำได้แน่นอนค่ะ </p>
<p></p>
<p class="has-text-align-right">ที่มา : bangkokinternationalhospital</p>
</div></div><div style="height: 0; width: "100%"; backgroundColor: " />
Homeday